วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เต่าทะเล


เต่าทะเลปกติอาศัยอยู่ในทะเลหลวง



แต่ก็จะเข้ามาหากินและนอนพักผ่อนตามกองหิน



ในแนวปะการังเป็นบางครั้ง เต่าทะเลเป็นสัตว์กินพืช



อาหารที่ชอบคือหญ้าทะเล ซึ่งขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น



ตามพื้นท้องทะเลตื้นๆ ใกล้แนวปะการัง แต่ก็อาจกินหอย



ปู และปลาด้วยถ้าหาได้



เต่าทะเลว่ายน้ำเก่ง มีรูปร่างเหมาะสำหรับว่ายน้ำ



กล่าวคือ ด้านท้องแบนเรียบ กระดองหลังโค้งนูน หัวแหลม



ท้ายแหลม มีขาแผ่แบนเหมือนใบพาย ใช้พุ้ยน้ำแทนที่จะเป็นขา



สำหรับเดินดังเช่นเต่าบก เต่าทะเลไม่มีนิ้ว มีแต่เล็บเล็กๆ



ที่ปลายขาเท่านั้น เมื่อจะขึ้นบกเต่าทะเลเคลื่อนที่โดยแกว่งขาหน้า



ปาดยันทรายซ้ายขวาสลับกัน ทำให้ตัวเลื่อนพุ่งไปข้างหน้า



เต่าทะเลจะขึ้นบกเฉพาะเมื่อวางไข่ ในเวลากลางคืน



วันที่น้ำทะเลขึ้นเต็มฝั่งหาดทรายเงียบสงบปลอดผู้คน



แม่เต่าจะคลานขึ้นจากทะเล พอถึงที่เหมาะอันเป็นที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง



แม่เต่าจะใช้ขาหน้าขุดทรายขึ้นจนเป็นหลุมลึกพอประมาณ



วางไข่ลงในนั้นนับร้อยฟอง แล้วกลบหลุมและใช้อกไถทรายจนเรียบไร้ร่องรอย



จากนั้นก็คลานกลับลงทะเลไป ทิ้งไข่ไว้ ณ ที่นั้น

จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. เรื่องที่นักเรียนได้อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร?

ก. ตะพาบ ข. เต่าแคระ ค. เต่าทะเล ง.เต่ามะเฟือง

2. จากเรื่องที่นักเรียนได้อ่าน เต๋าอาศัยอยู่ที่ใด?

ก. แม่น้ำ ข. ภูเขา ค. ทะเลสาบ ง. ทะเล

3. ข้อใดไม่ใช่อาหารของเต่าทะเล?

ก. หอย ข. แมงกระพรุนไฟ ค. หญ้าทะเล ง. ปูและปลา

4. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเต่าทะเล?

ก. หัวแหลม ท้ายแหลม ข.ด้านท้องแบนเรียบ ค.กระดองหลังเหลี่ยมแหลม ง. ไม่มีนิ้ว

5. เต่าทะเลวางไข่ที่ใด?

ก. บนบกตามชายหาดครึกครื้น

ข. ในน้ำตามแนวประการัง

ค. บนบกตามชายหาดเงียบสงบ

ง. ใต้ต้นมะพร้าวแถบชายหาด

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ทักษะการสืบค้นมูล


กลยุทธ์ /ทักษะการสืบค้นข้อมูล

กำหนดเรื่อง โดยระบุความต้องการให้ชัดเจน ว่าต้องการค้นเรื่องอะไร

วิเคราะห์คำถาม (Query) ของเรื่องที่ต้องการค้น เช่น คำสำคัญ (Keyword)

หรือ หัวเรื่อง (Subject) โดยตอบคำถาม 5W 1H

เลือกเครื่องมือช่วยค้นหรือ Search engine ที่จะใช้ค้น

หรือรู้แหล่งข้อมูลที่จะค้น ใช้เครื่องหมายและคำสั่งในการค้น

เพื่อกำหนดขอบเขตของคำให้แคบและเฉพาะเจาะจงข้อมูลที่ต้องการ

วิเคราะห์และประเมินผลลัพท์ที่ได้จากการค้น

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต

ประเภทและการทำงานของ Search engine

การใช้คำสั่งและเครื่องหมายในคำค้น (Opearators)

การวางแผนและกลยุทธ์การค้น

เครื่องมือช่วยค้นภาษาอังกฤษ

เครื่องมือช่วยค้นภาษาไทย

การแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องนำไปสู่การพัฒนาในสังคมการเรียนรู้

ข้อควรคำนึงในการค้นคว้า

1. ไม่มีเครื่องมือค้นคว้าใดที่สมบูรณ์ที่สุด ( No Search Engine is perfect )
2. ไม่มีฐานข้อมูลใดที่สมบูรณ์ที่สุด ( No database is complete )
3. ไม่มีฐานข้อมูลใดที่ทันสมัยที่สุด ( No database is up to date )
4. เครื่องมือช่วยค้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ( Search engines often change )

( http://www.mannlib.cornell.edu/reference/workshops/WebSearching/engines.html )

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เทคนิคการหาข้อมูล

เทคนิคการค้นหาข้อมูล
ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูลตัวใดก็ตาม
คุณก็ควรที่จะเรียนรู้วิธีการทำงานของมันไว้บ้าง
ลองเข้าไปอ่านเคล็ดลับการสืบค้นในแต่ละไซต์
เป็นต้นว่า เครื่องมือนั้น ๆ มีวิธีจัดการกับข้อความ
ที่มีมากกว่า 1 คำได้อย่างไร ส่วนมากแล้ว
เครื่องมือเหล่านี้จะแสดงผลการค้นหาจากคำเดี่ยว
ที่อยู่ในกลุ่มคำนั้นๆ มาให้ด้วย
โดยปกติ คุณอาจต้องการจำกัดขอบเขตการค้นหาไว้ เ
พราะข้อมูลออนไลน์มีปริมาณมากเกินไป
แต่คุณจะทำได้อย่างไร ลองมาทำความรู้จักกับหลักตรรกะของบูลีนกันหน่อย
จอร์จ บูล นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ
ป็นผู้พัฒนาหลักตรรกะพีชคณิต
ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นพื้นฐานในการค้นหาฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
หลักตรรกะของบูลีนนี้ จะใช้คำที่เรียกว่า "โอเปอเรเตอร์"
ช่วยในการพิจารณาว่าข้อความประโยคใดเป็นเท็จหรือจริง
โอเปอเรอเตอร์ที่ธรรมดาที่สุด ได้แก่ AND, OR และ NOT ทั้ง 3 คำนี้
อำนวยประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง
ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงให้คุณได้ประจักษ์
Searching... Results in... cable AND car Documents with both words cable OR car The greatest amount of matches; documents with either word cable NOT car Documents about cable, but not about cable cars; a good way to limit the search.
เนื่องจากเครื่องมือสืบค้นแต่ละตัวมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้น คุณจึงควรทำความคุ้นเคยกับคุณลักษณะของมันด้วย ข้อแนะนำข้อสุดท้ายนี้ เราอยากจะบอกว่า อินเทอร์เน็ตอาจจะไม่ใช่เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดก็ได้ ในบางครั้ง บรรณารักษ์ห้องสมุดหรือการใช้โทรศัพท์อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคุณก็ได้